วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15
วันที่ 8 มีนาคม  2555

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานที่มอบหมายสัปดาห์ที่แล้ว คือ Big   Book  และบัตรคำ   อาจารย์ได้ตรวจของนักศึกษาทุกกลุ่มโดยกลุ่มข้าพเจ้าต้องแก้ไขงาน คือ เขียนไม่ตรงบรรทัดกัน  และต้องแบ่งคำให้ถูก  และกลุ่มไหนที่ได้แก้ไขอาจารย์ให้แก้ไขในห้องเรียนถ้าวันนี้แก้ไขไม่เสร็จให้ส่งภายในวันพรุ่งนี้ก่อนบ่าย 3 โมง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14
วันที่ 1 มีนาคม 2555

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอผลงานทุกกลุ่มและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ในการรายงานหรือนำเสนอผลงาน  และอาจารย์ได้มอบหมายงาน คือ ให้นำกระดาษที่อาจารย์แจกให้ในแต่ละกลุ่มไปทำหนังสือ Big  Book ในหัวข้อมันคืออะไร   และบัตรคำ  ให้นักศึกษาส่งในสัปดาห์ถัดไป


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา Present งานที่ให้เด็กตัดแปะลงกระดาษ ในหัวข้อตัวอย่างคือเธอชอบกินอะไร  และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในเรื่อง การรายงานหน้าชั้นเรียน  การที่สังเกตเด็กและการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเด็ก  และการเขียนข้อความหรือบทความต้องให้ตรงกับรูปภาพที่เด็กและเราตัดแปะ


วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12
วันที่18  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษเพื่อให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้หนึ่งรูป   เพื่อทำกิจกรรม รูปภาพเชื่อมคำ วาดรูปแทนคำ พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่าทางประกอบ    ทำท่าทางของเพื่อนแล้วทำของตัวเองเด็กจะได้การจำ การสังเกต การฟัง เวลาที่จะสอนให้เด็กรู้จักคำว่าขอบคุณ ขอโทษ เราจะใช้สื่ออะไรได้บ้าง เช่นใช้บทเพลงเป็นสื่อ และ เด็กใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกตลอดจนการทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมาย การจัดการเรียนการสอนจึงควรสอดคล้องกับธรรมชาติของคนเรา ดังกล่าว ดังทัศนะของภาษารวมหรือการเรียนภาษาโดยธรรมชาติ(Whole Language)ซึ่งได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายการสอนภาษาไว้ดังนี้ (Goodman and Goodman1981)

1. จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสารอย่างมีความหมาย
2. จุดมุ่งหมายการฟังและประสบการณ์การอ่านเน้นที่การเข้าใจความหมาย
3. จุดมุ่งหมายการพูดและประสบการณ์การเขียนเน้นการสร้างหรือแสดงออกถึงความหมาย

ลักษณะของภาษา
เนื้อหาของภาษา(Language Content)ได้แก่ หัวข้อเนื้อหา เรื่องหรือความหมายของสารท่จะใช้สื่อกับคนอื่น ประกอบด้วย ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ความสัมพันธ์ ดังนี้

เนื้อหาของภาษา

ชื่อ ชื่อเฉพาะ เช่น อาคาร
        ชื่อทั่วไป เช่น สุนัข

ความสัมพันธ์ บอกความเป็นอยู่ เช่น ขนมชิ้นนี้
                           บอกลักษณะ         เช่น บอลลูกใหญ่

เหตุการณ์        เวลาและเหตุผล   เช่น หิวจึงกิน
                           ความรู้ ความรู้สึก เวลา เช่น เมื่อวานนี้

รูปแบบของภาษา

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ คำที่มีความหมายและซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ เสียงที่เปล่งออกมาเป็นหน่วย ลำดับคำ หรือประโยค

 พยัชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล และอักษรต่ำคู่มี 14 ตัว

บันทึกการเรียรู้ครั้งที่11

บันทึกการเรียรู้ครั้งที่11

                              วันที่ 16  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องงานกีฬาสีและได้สอนในเรื่องของการทำหนังสือภาพคือ

      เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า  เราก็จะหารูปภาพที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแปะลงบนกระดาษที่เตรียมไว้และถ้าเราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้นเราก็จะให้เด็กตอบ ในการทำกิจกรรมนี้เราก็จะสังเกตเด็ก บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากเด็กว่าเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือเปล่า

       การสร้างภาพปริศนาคำทาย

1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย   (คัดลอกมาจากนางสาวสว่างจิตร์  คำชมพู)
(เนื่องจาก ข้าพเจ้า  ขาดเรียน     (ป่วย)   )

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10
วันที่ 9  กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9
วันที่ 2 กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ว่าควรมีหลักการอย่างไร และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน

อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
          
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ


บรูไน
ซาลามัต ดาตัง
อินโดนีเซีย
ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย
ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์
กูมุสตา
สิงคโปร์
หนีห่าว
ไทย
สวัสดี
กัมพูชา
ซัวสเด
ลาว
สะบายดี
พม่า
มิงกาลาบา
เวียดนาม
ซินจ่าว



เพลง  Hello

Hello   Hello                     Hello     how  are   you ?
I'm   find     I'm   find        I   hope    that    you    too.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ  ความหมายความสำคัญของภาษา  ภาษาที่ใช้ต้อง
เหมาะสม  ควรชัดถ้อยชัดคำ  บทบาทของครูผู้สอน คือ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี (เครื่องแบบไมส่ได้ทำให้สมองพัฒนาดีขึ้น  แต่เครื่องแบบเป็นเครื่องสะท้อนถึงองค์กร) 

-ภาษาคือเครื่องมือในการที่จะให้พัฒนา
*การจัดประสบการณ์กับเด็กต้องมีอะไร  และอาจารย์ได้เปิดภาพวาดของเด็กอนุบาลให้นักศึกษาดู และได้พูดถึงการเขียนและการพูด  การฟังและการพูด    เด็กจะเรียนโดยไม่อาศัยการสอนอย่างเป็นทางการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ได้ เมื่ออายุ 4-5 ปี
-สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัย จะต้องตระหนัก และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กคือความเข้าใจ

-ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส(Code)ใช้แทนสัตว์ที่มีเท้า  สิ่งของ สถานที่  กริยาอาการ  และเหตุการณ์ เช่น เด็กกินขนม

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555

-วันนี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และอาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อค

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6
วันที่ 12 มกราคม  พ.ศ.2555

-ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  Present  งานในรูปแบบ Powerpoint ที่นักศึกษาไปเล่านิทานให้เด็กฟัง โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้ Present  เป็นกลุ่มแรก
-กลุ่มข้าพเจ้าได้ ไปเล่านิทานเรื่องเจ้าลิงสีม่วง  ให้  เด็กชายสิทธิศักดิ์       เกิดรุ่ง    ฟังที่หมอชิตน้องยังไม่ได้เข้าโรงเรียน  เมื่อข้าพเจ้าเล่าน้องตั้งใจฟังเป็นอย่างดีเมื่อข้าพเจ้าเล่า เสร็จได้ตั้งคำถาม ถามน้องว่า1.นิทานเรื่องนี้สนุกไหมคะ   น้องพยัคหน้าแล้วตอบว่าสนุก
2.รู้ไหมคะทำไมเจ้าลิงถึงเป็นสีม่วง   น้องส่ายหน้า  แล้วข้าพเจ้าก็ได้อธิบายให้น้องฟังว่าเจ้าลิงหิวมากจึงทานผลไม้ที่ไม่รู้จักโดยไม่คิดเสียก่อน  ว่ามีพิษหรือไม่
3.ในนิทานเรื่องนี้น้องอยากเป็นตัวละครตัวไหน
น้องตอบว่าอยากเป็นหมอ
4.ทำไมน้องถึงอยากเป็นหมอ
น้องตอบว่า  น้องชอบหมี  เพราะว่าในตัวละครเจ้าหมีมีอาชีพเป็นคุณหมอ

อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่กลุ่มข้าพเจ้าคือ การ Persent  งานต้องแนะนำตัวและบอกสถานที่ วัน  เวลา ที่ไปเล่านิทาน และควรสังเกตพฤติกกรมเด็กด้วย

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5
วันที่ 4 มกราคม  พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

-สิ่งที่ข้าพเจ้าค้นคว้าเพิ่มเติมในวันนี้
 วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง